RSS

Tag Archives: การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สถิติผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างปี พ.ศ.2552-2556

สถิติผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ระหว่างปี พ.ศ.2552-2556

ประมวล นาคผู้           

สิริมาศ สลีวงศ์

ละออ ชมพักตร์           

 

บทคัดย่อ            มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองในสตรีไทยรองจากมะเร็งเต้านม การตรวจ Pap smear เป็นการค้นหาความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาสถิติผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกติ เป็นการศึกษาย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึง 31 ธันวาคม 2556 ผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 13,306 ราย พบว่ามีสไลด์ที่สามารถตรวจวินิจฉัยได้ (satisfactory) จำนวน 13,077 ราย (ร้อยละ 98.28) และสไลด์ที่คุณภาพต่ำไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย(unsatisfactory) จำนวน 229 ราย (ร้อยละ 1.72)  สตรีช่วงอายุระหว่าง 41-50 ปี มารับการตรวจคัดกรองมากที่สุดจำนวน 1115 ราย (ร้อยละ 32.57) การศึกษานี้ พบความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูก (Abnormal epithelial cells) 457 ราย (ร้อยละ 13.34) โดยพบความผิดปกติเป็น ASC-US มากที่สุดจำนวน 212 ราย (ร้อยละ 46.39)  ตามมาด้วย LSIL 98 ราย (ร้อยละ 21.44) ASC-H 49 ราย (ร้อยละ 10.72) HSIL 35 ราย (ร้อยละ 7.66) AGC 30 ราย (ร้อยละ 6.56) AGC favor neoplastic 13 ราย (ร้อยละ 2.84) adenocarcinoma 12 ราย (ร้อยละ 2.63) squamous cell carcinoma 4 ราย (ร้อยละ 0.88)  และ HSIL with features suspicious for invasion 4 ราย (ร้อยละ 0.88)  ช่วงอายุที่พบผลการตรวจผิดปกติมากที่สุดคือช่วงอายุ 41-50ปี จำนวน 118 ราย (ร้อยละ 25.82) และพบน้อยสุดที่ช่วงอายุ ≤20 ปี จำนวน 31 ราย (ร้อยละ 6.78) จากผลการศึกษานี้พบว่าสตรีที่มีอายุระหว่าง 31-50 ปี มีความถี่ของการตรวจพบความผิดปกติต่างๆของเซลล์บริเวณปากมดลูกมากกว่ากลุ่มอายุอื่นจึงควรมุ่งเน้นการตรวจดังกล่าวในสตรีกลุ่มนี้

คำสำคัญ: การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แปปสเมียร์ เซลล์ผิดปกติ

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ. พิษณุโลก

Download: http://thailand.digitaljournals.org/index.php/TCJ

 

 
ใส่ความเห็น

Posted by บน กันยายน 1, 2016 นิ้ว Uncategorized

 

ป้ายกำกับ: , ,